การป้องกันและการตรวจคัดกรอง
รายละเอียด
การคัดกรองมะเร็งเต้านม ทำให้เราสามารถตรวจเจอได้ตั้งแต่ก้อนเล็กกว่า 1 ซม. ควรทำเป็นประจำ การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมนอกจากการตรวจเต้านมด้วยตนเอง อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้งหลังประจำเดือนมาวันแรก 3-10 วัน ตั้งแต่วัยที่เริ่มมีประจำเดือนให้เป็นนิสัยแล้ว ควรมาทำการตรวจคัดกรองที่โรงพยาบาลอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
-
การตรวจเต้านมโดยแพทย์: ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเต้านม ตรวจร่างกายเพื่อดูความผิดปกติในเต้านม เช่นก้อนในเต้านม เลือดหรือน้ำจากหัวนม แผล ต่อมน้ำเหลือง พร้อมทั้งแปลผลการตรวจแมมโมแกรมและอัลตราซาวน์ เพื่อวางแผนการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม
-
แมมโมแกรมและอัลตราซาวน์ สำหรับอายุ 35-40 ปี ให้เริ่มทำไว้ 1 ครั้ง หลังจากนั้นเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไปแนะนำให้ทำทุก 1-2 ปี โรงพยาบาลนมะรักษ์มีเครื่องมือที่ทันสมัยแม่นยำสูงในการตรวจคัดกรอง ประกอบด้วย
-
แมมโมแกรมระบบดิจิตอลแบบ 3 มิติ
-
อัลตราซาวด์ชนิดความคมชัดสูงโดยรังสีแพทย์จะทำการตรวจหาเพื่อยืนยันความผิดปกติอีกรอบหลังจากทำอัลตราซาวด์อัตโนมัติ
ค่าบริการ
-
ค่าบริการโรงพยาบาล 400 บาท
-
ค่าแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์ 4,500 บาท (หากทำอัลตราซาวด์อย่างเดียว 3,000 บาท)
-
ค่าแพทย์ตรวจ ประมาณ 900-1,200 บาท
ระยะเวลา (Cycle time)
ทำแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์ประมาณ 1.5-2.5 ชั่วโมง
พบแพทย์ ประมาณ 15-30 นาที
เวลาเปิดบริการ ทุกวัน 9.00-17.00 น.
สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนมาโรงพยาบาล
-
ประวัติการรักษาพยาบาลเดิม (หากมี)
-
ผลการทำแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์ที่เคยทำ ทั้งผลการรายงานและภาพที่บันทึกในรูปแบบซีดี (CD) ภาพทางการแพทย์ (ระบบPACs) เพื่อนำมาเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลง
ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ให้บริการตรวจคัดกรอง
-
รศ.พญ.เยาวนุช คงด่าน
-
พญ.ปวีณา เลือดไทย
-
พญ.เสริมศรี พงษ์รัตนกุล
-
ผศ.นพ.ธงชัย ศุกรโยธิน
-
นพ.มาวิน วงศ์สายสุวรรณ
-
นพ.ฐิติกร ไกรสรกุล
-
นพ.กัมปนาท นิ่มพูนศรี
หมายเหตุ:: ไม่มีการรับประกันผลลัพธ์ที่ตายตัวและผลลัพธ์ที่ได้อาจไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล