top of page

รายงานผลการตรวจเต้านมด้วยภาพทางการแพทย์ (BIRADs)

รายงานผลการตรวจเต้านมด้วยภาพทางการแพทย์ (BIRADs)

บทความโดย รศ.พญ. เยาวนุช คงด่าน พญ. ปวีณา เลือดไทย

 

         ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์ แพร่หลายมากในปัจจุบัน เมื่อได้รับผลแล้วการแปลผลด้วยตนเองค่อนข้างยากเนื่องจากมีศัพท์เฉพาะค่อนข้างมาก ต้องให้แพทย์ทำการอธิบายผลและอธิบายแนวทางการจัดการ ในบทความนี้จะอธิบายแนวทางการแปลผลตรวจให้เข้าใจได้ง่ายๆ ด้วยตนเอง

สิ่งที่ตรวจพบในผลการอ่านของรังสีแพทย์ ดังนี้

· ซีสต์ (Cyst) หรือ ถุงน้ำ คำว่า “Cyst” หมายถึงถุงน้ำ เมื่อพบคำว่าCyst ให้อ่านต่อว่า Cyst หรือถุงน้ำนั้นมีลักษณอย่างไร หากแพทย์ระบุเพียงคำว่า

- Cyst หรือ Simple cyst ไม่ต้องกังวล

- Complicated Cyst คือ ถุงน้ำนั้นอาจจะมีส่วนที่เป็นเนื้อปะปนด้วย กรณีนี้ควรเฝ้าระวัง

- ntracystic mass คือ มีก้อนเนื้ออยู่ภายในถุงน้ำ ต้องระวังอาจเป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็งเต้านมได้

“Cyst” หรือถุงน้ำ ไม่ใช่มะเร็ง ไม่ใช่เนื้องอก ในอดีตแพทย์จัดกลุ่มว่าเป็นโรคของเต้านมชนิดหนึ่ง แต่ปัจจุบันไม่ได้ถือว่าเป็นโรคแล้ว เนื่องจากช่วงกลางของรอบเดือน เมื่อไข่ตก รังไข่จะหลั่งฮอร์โมนมากระตุ้นต่อมน้ำนมให้ขยายขนาด เก็บน้ำ ผลิตน้ำนมแต่ปริมาณไม่เยอะ สังเกตว่าก่อนมีประจำเดือน เต้านมค่อนข้างคัดตึง ขยายขนาด หากตั้งครรภ์ เต้านมก็ขยายขนาดไปเรื่อยๆ หากไม่ตั้งครรภ์ก็ยุบลง การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจทำให้มีการหลงเหลือกลายเป็นถุงน้ำ หรือที่ทางการแพทย์ก็เรียกว่า “Cyst” นั่นเอง

· Calcification หรือ หินปูน

“Calcification หรือหินปูน แมมโมแกรมเห็นเป็นจุดขาวๆ แบ่งเป็นหินปูนขนาดเล็กกว่า 0.5 มม.เรียกว่า Microcalcifcation และขนาดใหญ่กว่า 0.5 มม. เรียกว่า Macrocalcification หินปูนชนิด Microcalcification อาจเกิดจากมะเร็งหรือไม่ใช่มะเร็งก็ได้ ส่วน Macrocalcification ไม่ได้เกิดจากมะเร็ง

Microcalcification หากเป็นเม็ดเดี่ยวๆ หรือกระจายตัว(Scatter) มักไม่น่ากังวล แต่หากเรียงตัวเป็นกลุ่มหรือที่เรียกว่า Cluster of Calcification คือ มีหินปูนที่เป็นจุดเล็กๆ เกินกว่า 5 จุด ในพื้นที่ 1 ตารางเซนติเมตร หรือมีลักษณะ “Linear branching” คือ มีลักษณะการเรียงตัวและแตกแขนงตามลักษณะของท่อน้ำนม อาจเกิดจากมะเร็งเต้านมได้

· Mass หรือ ก้อน

ก้อนที่ตรวจพบมีทั้งก้อนที่เป็นมะเร็งและเนื้องอกธรรมดา ลักษณะก้อนที่สงสัยมะเร็งเต้านม เรียงจากน้อยไปมาก ได้แก่ก้อนที่ขอบเขตไม่ชัดเจน(ill define border) ขอบมีรอยหยัก(Lobulated) ขอบขรุขระ(irregular) ขอบมียื่นแหลม(Spiculated)การตรวจเจอก้อนไม่ได้แปลว่าก้อนนั้นจะเป็นมะเร็ง ต้องมีคำอธิบายเพิ่มเติมว่าก้อนนั้นมีหน้าตาลักษณะเป็นอย่างไร ได้แก่

Increase Vascularization บอกว่าก้อนที่ตรวจพบมีเลือดมาเลี้ยงเพิ่มมากขึ้นหรือไม่ หากพบว่ามากขึ้นอาจเป็นจากการอักเสบหรือมะเร็งเต้านมก็ได้

 

การสรุปรายงานผลการตรวจ เป็น BIRADs

การตรวจภาพทางรังสีเต้านม เช่น แมมโมแกรม หรืออัลตราซาวนด์ เป็นเครื่องมือสำคัญในการตรวจหามะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งผลการตรวจจะใช้ระบบรายงานและจัดเก็บข้อมูลภาพถ่ายเต้านม (BIRADs) เป็นระบบที่รังสีแพทย์ใช้ในการจำแนกผลการตรวจเต้านมด้วยแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์ พัฒนาโดยวิทยาลัยรังสีวิทยาอเมริกัน(American College of Radiology (ACR) ) BIRADs ช่วยให้การรายงานผลการตรวจเต้านมมีความเป็นมาตรฐาน ทำให้สามารถสื่อสาร เข้าใจความเสี่ยงและวางแผนการดูแลรักษาได้อย่างเหมาะสม

ทำความเข้าใจหมวดหมู่ BIRADs

แต่ละหมวดหมู่ BIRADs แสดงถึงระดับความกังวลที่แตกต่างกันโดยแบ่งระดับความผิดปกติที่พบในภาพรังสีเต้านมออกเป็น 7 ระดับ โดยแต่ละระดับมีความหมายและแนวทางการจัดการที่แตกต่างกัน:

  • BIRADs 0 – การประเมินไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถสรุปผลได้ (Incomplete)

    • คำอธิบาย: จำเป็นต้องทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น การตรวจด้วยอัลตราซาวด์หรือแมมโมแกรมเพิ่มเติม

    • การจัดการ: นัดตรวจเพิ่มเติมตามคำแนะนำของแพทย์รังสีวิทยา

  • BIRADs 1 - ปกติ: ไม่มีลักษณะที่บ่งชี้ว่ามีความผิดปกติ (Negative)ไม่มีสัญญาณของมะเร็ง เต้านมดูเป็นปกติ

    • คำอธิบาย: ไม่มีลักษณะใดๆ ที่บ่งชี้ว่ามีความผิดปกติในภาพรังสี

    • โอกาสที่จะเป็นมะเร็ง: 0%

    • การจัดการ: ตรวจติดตามตามระยะเวลาที่กำหนด (ปกติทุก 1-2 ปี)

  • BIRADs 2 - พบลักษณะที่เป็นสิ่งปกติที่ไม่ใช่มะเร็ง (Benign)

    • คำอธิบาย: พบลักษณะที่เป็นสิ่งปกติที่ไม่ใช่มะเร็ง เช่น ถุงน้ำหรือก้อนเนื้อที่เป็นสิ่งปกติ

    • โอกาสที่จะเป็นมะเร็ง: 0%

    • การจัดการ: ตรวจติดตามตามระยะเวลาที่กำหนด (ปกติทุก 1-2 ปี)

·         BIRADs 3 - อาจไม่ใช่มะเร็ง: พบสิ่งที่ไม่น่าจะเป็นมะเร็ง อาจเป็นสิ่งปกติแต่ต้องติดตาม (Probably

o    คำอธิบาย: ลักษณะที่อาจเป็นสิ่งปกติแต่ควรติดตามเพื่อดูการเปลี่ยนแปลง

  1. โอกาสที่จะเป็นมะเร็ง: ≤2%

  2. การจัดการ: ตรวจติดตามอย่างใกล้ชิดทุก 6 เดือนถึง 1 ปี จนกระทั่งมั่นใจว่าไม่สงสัยมะเร็ง

  3. BIRADs 4 - พบความผิดปกติที่น่าสงสัย:

o    คำอธิบาย: ลักษณะที่มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งและต้องทำการตรวจเพิ่มเติมหรือทำการตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจสอบ แบ่งย่อยเป็น

  1. BIRADS 4A: ความเสี่ยงต่ำ (Low Suspicion) โอกาสที่จะเป็นมะเร็ง 2-10%

  2. BIRADS 4B: ความเสี่ยงปานกลาง (Moderate Suspicion) โอกาสที่จะเป็นมะเร็ง 10-50%

  3. BIRADS 4C: ความเสี่ยงสูง (High Suspicion) โอกาสที่จะเป็นมะเร็ง 50-95%

  4. การจัดการ: แนะนำให้ทำการตัดชิ้นเนื้อ (biopsy) เพื่อตรวจหามะเร็ง

 

  • BIRADs 5 - มีลักษณะบ่งชี้ว่าเป็นมะเร็ง (Highly Suggestive of Malignancy)

    • คำอธิบาย: ลักษณะที่มีความเสี่ยงสูงในการเป็นมะเร็ง

    • โอกาสที่จะเป็นมะเร็ง: >95%

    • การจัดการ: ต้องทำการตรวจเพิ่มเติมทันที เช่น การตัดชิ้นเนื้อและวางแผนการรักษาต่อไป

  • BIRADs 6 - เป็นมะเร็งที่ยืนยันแล้ว (Known Biopsy-Proven Malignancy)

    • คำอธิบาย: มะเร็งที่ได้รับการยืนยันจากการตัดชิ้นเนื้อแล้ว

    • โอกาสที่จะเป็นมะเร็ง: 100%

    • การจัดการ: วางแผนการรักษาตามแนวทางการรักษามะเร็ง เช่น การผ่าตัด การฉายแสง หรือการทำเคมีบำบัด


สรุป

การรายงานผลการตรวจภาพทางรังสีของเต้านมตามระบบ BIRADS เป็นแนวทางที่ช่วยให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์สามารถสื่อสารและจัดการผลการตรวจได้อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการผลการตรวจตามระบบ BIRADS มีขั้นตอนและกระบวนการที่ชัดเจนเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่เหมาะสมและทันเวลา ทั้งนี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและการดูแลที่เหมาะสมตามผลการตรวจ BIRADS ของแต่ละบุคคล

หมายเหตุ:: ไม่มีการรับประกันผลลัพธ์ที่ตายตัวและผลลัพธ์ที่ได้อาจไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Comments


Commenting has been turned off.
bottom of page