รายละเอียด
การคัดกรองมะเร็งเต้านม ทำให้เราสามารถตรวจเจอได้ตั้งแต่ก้อนเล็กกว่า 1 ซม. ควรทำเป็นประจำ การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมนอกจากการตรวจเต้านมด้วยตนเอง อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้งหลังประจำเดือนมาวันแรก 3-10 วัน ตั้งแต่วัยที่เริ่มมีประจำเดือนให้เป็นนิสัยแล้ว ควรมาทำการตรวจคัดกรองที่โรงพยาบาลอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- การตรวจเต้านมโดยแพทย์: ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเต้านม ตรวจร่างกายเพื่อดูความผิดปกติในเต้านม เช่นก้อนในเต้านม เลือดหรือน้ำจากหัวนม แผล ต่อมน้ำเหลือง พร้อมทั้งแปลผลการตรวจแมมโมแกรมและอัลตราซาวน์ เพื่อวางแผนการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม
- แมมโมแกรมและอัลตราซาวน์ สำหรับอายุ 35-40 ปี ให้เริ่มทำไว้ 1 ครั้ง หลังจากนั้นเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไปแนะนำให้ทำทุก 1-2 ปี โรงพยาบาลนมะรักษ์มีเครื่องมือที่ทันสมัยแม่นยำสูงในการตรวจคัดกรอง ประกอบด้วย
ü แมมโมแกรมระบบดิจิตอลแบบ 3 มิติ
ü เครื่องอัลตราซาวด์อัตโนมัติแบบ 3 มิติ มี 2 ระบบคือเครื่อง GE ABUS สแกนอัตโนมัติในท่านอนหงายข้างละ 3 ท่า และอาจเสริมด้วยเครื่อง Sofia ที่สแกนอัตโนมัติเป็นวงกลมในท่านอนคว่ำ
ü อัลตราซาวด์ชนิดความคมชัดสูงโดยรังสีแพทย์จะทำการตรวจหาเพื่อยืนยันความผิดปกติอีกรอบหลังจากทำอัลตราซาวด์อัตโนมัติ
ค่าบริการ
· ค่าบริการโรงพยาบาล 350 บาท
· ค่าแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์ 4,000 บาท (หากทำแมมโมแกรมหรืออัลตราซาวด์อย่างเดียว 2,500 บาท)
· ค่าแพทย์ตรวจ ประมาณ 700-1,200 บาท
ระยะเวลา(Cycle time)
ทำแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์ประมาณ 1.5-2.5 ชั่วโมง
พบแพทย์ ประมาณ 15-30 นาที
เวลาเปิดบริการ ทุกวัน 9.00-17.00 น.
สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนมาโรงพยาบาล
- ประวัติการรักษาพยาบาลเดิม (หากมี)
- ผลการทำแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์ที่เคยทำ ทั้งผลการรายงานและภาพที่บันทึกในรูปแบบซีดีภาพทางการแพทย์ (ระบบPACs) เพื่อนำมาเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลง
ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ให้บริการตรวจคัดกรอง
1. รศ.พญ.เยาวนุช คงด่าน
2. พญ.ปวีณา เลือดไทย
3. พญ.เสริมศรี พงษ์รัตนกุล
4. ผศ.นพ.ธงชัย ศุกรโยธิน
5. นพ.มนต์ชัย ลีสมบัติไพบูลย์
6. พญ.ชญานุตม์ รัตตดิลก
7. นพ.มาวิน วงศ์สายสุวรรณ
8. นพ.ฐิติกร ไกรสรกุล
9. นพ.กัมปนาท นิ่มพูนศรี
10. นพ.ภัทรเชษฐ์ คล้ายเคลื่อน